วันศุกร์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2551

เคเบิลวางใต้น้ำ (Submarine Cable)
เคเบิลวางใต้น้ำเป็นสายเคเบิลที่ออกแบบมาให้เหมาะสมกับสภาพใต้น้ำโดยเฉพาะ ซึ่งต้องทนกรด ทนด่าง ได้ดีเป็นอย่างยิ่ง ระบบเคเบิลใต้น้ำเป็นช่องทางการสื่อสารที่ใช้สำหรับรับ-ส่งสัญญาณผ่านสายเคเบิลเฉพาะชนิดที่วางฝังอยู่ใต้ทะเลเชื่อมโยงระหว่างสถานีเคเบิลใต้น้ำสองสถานี ซึ่งอาจเป็นระหว่างจุดต่อจุดหรือประเทศต่อประเทศใช้สำหรับการเชื่อมโยงที่มีระยะทางไกล ในยุคแรกของการใช้ระบบเคเบิลใต้น้ำใช้สายเคเบิลใต้น้ำชนิดสายทองแดงและสายแกนร่วมหรือสายโคแอกซ์มีปัญหาการรับ-ส่งสัญญาณ จากการรบกวนของสัญญาณมาก จึงได้มีการพัฒนาระบบเคเบิลใต้น้ำชนิดเส้นใยนำแสงขึ้นมาใช้งานทำให้ปัญหาลดน้อยลงในสภาพภูมิอากาศแวดล้อมต่างๆ การรับ-ส่งสัญญาณของเคเบิลใต้น้ำนี้จะมีอุปกรณ์ทวนสัญญานในการขยายสัญญาณในการรับ-ส่งตามระยะกำหนด ทำให้คุณภาพของสัญญาณเกือบคงที่และความล่าช้าของสัญญาณมีน้อยลงด้วย การพัฒนาโครงการต่างๆ ของเคเบิลใต้น้ำที่เกี่ยวข้องกับประเทศไทยมีขึ้นหลายโครงการ เช่น โครงการเคเบิลใต้น้ำอาเซียน โครงการเคเบิลใต้น้ำไทย-มาเลเซีย โครงการเคเบิลใต้น้ำเอเซียอาคเนย์–ตะวันออกกลาง-ยุโรปตะวันตก ๓ (SEW-ME-WE 3) และโครงการใต้น้ำแฟล็ก เป็นต้น ซึ่งระบบเคเบิลใต้น้ำมีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว เพื่อประสิทธิภาพของการสื่อสารข้อมูลปริมาณสูงและสนองความต้องการช่องทางสื่อสารที่มีประสิทธิภาพสูงเคเบิลหรือสายนำสัญญาณใต้น้ำคือ สื่อสัญญาณสำหรับการสื่อสารระยะทางไกลเปรียบเสมือนท่อส่งสัญญาณขนาดใหญ่ที่มีการรับ-ส่งสัญญาณคุณภาพสูง โดยพัฒนาการของเคเบิลใต้น้ำ เริ่มจากชนิดแกนร่วม (Coaxial) จนมาถึงระบบใต้น้ำเคเบิลเส้นใยนำแสง (Optical Fiber) เนื่องจากเทคโนโลยีของเคเบิลชนิดแกนร่วมเป็นระบบแอนะล็อก (Analog) การเพิ่มขนาดหรือขยายระบบทำได้ยากและซับซ้อนในด้านการบำรุงรักษา เมื่อขนาดความจุของระบบใหญ่ขึ้นจะทำให้ขนาดของสายเคเบิลใหญ่ขึ้นด้วยและกรณีแถบความถี่ของระบบที่กว้างมากขึ้นจะเป็นผลให้สัญญาณในสายเคเบิลถูกลดทอน (Attenuation) ระยะทางการติดตั้งอุปกรณ์ทวนสัญญาณ (Repeater) จะลดลง ซึ่งเป็นผลให้มีความซับซ้อนและมูลค่าของระบบสูงขึ้นจากข้อจำกัดดังกล่าวข้างต้นจึงได้มีการพัฒนาเทคโนโลยีเฉพาะทางสำหรับระบบเคเบิลใต้น้ำเพื่อปรับปรุงระบบให้ทันสมัย มีประสิทธิภาพดีขึ้น จึงได้มีวิวัฒนาการมาเป็นระบบเคเบิลแบบดิจิทัล (Digital) เมื่อเปรียบเทียบกับระบบเคเบิลใต้น้ำชนิดแกนร่วมแล้วมีข้อดีกว่าหลายประการคือ สามารถรับ-ส่งสัญญาณได้ในแถบความถี่ที่กว้างกว่าราคาต่อวงจรต่ำกว่า มีน้ำหนักเบา นอกจากนี้ยังสามารถรับ-ส่งข้อมูลที่อัตราเร็วกว่า เนื่องจากใช้แสงที่มีความจุของช่องสัญญาณหรือแบนด์วิดท์กว้างกว่า ดังนั้นระยะทางระหว่างหน่วยทวนสัญญาณ (repeater) ของเคเบิลชนิดเส้นใยนำแสงจะมากหรือไกลกว่า

ไม่มีความคิดเห็น: